บางครั้งไม่ง่ายเลย
เมื่อเราจะจับคู่ระหว่างเสื้อสีไหนกับกระโปรงหรือกางเกงสีไหนดี
ใส่แล้วรู้สึกไม่มั่นใจ
เราลองมาทำความรู้จักกับสี กันก่อนว่า
ที่มาและสีที่คุณเห็น มีสีอะไรบ้าง บางทีอาจทำให้คุณได้ไอเดีย
หรือสร้างความมั่นใจในการจับคู่สีเสื้อผ้าแฟชั่นของคุณได้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งสีแบ่งออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้
2. สีขั้นที่สอง มี 3 สี
ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างแม่สีด้วยกันเอง
จนเกิดเป็นสีใหม่ คือ สีแดงกับสีน้ำเงินได้สีม่วง, สีเหลืองกับสีแดงได้สีส้ม และสีเหลืองกับสีน้ำเงินได้สีเขียว
จนเกิดเป็นสีใหม่ คือ สีแดงกับสีน้ำเงินได้สีม่วง, สีเหลืองกับสีแดงได้สีส้ม และสีเหลืองกับสีน้ำเงินได้สีเขียว
3. สีขั้นที่สาม เป็นสีที่ได้จากสีขั้นที่ 2
นำกลับมาผสมกับแม่สีอีกครั้งหนึ่ง จะได้เป็น 6 สี คือ สีม่วงน้ำเงิน สีเขียวเหลือง สีส้มเหลือง สีม่วงแดง สีส้มแดง
และสีเขียวน้ำเงิน
เราสามารถแบ่งสี ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. สีอุ่น ได้แก่ สีเหลือง ส้มเหลือง แดง ส้ม ส้มแดง
ม่วงแดง และม่วง
2. สีเย็น ได้แก่สีเหลือง เขียวเหลือง เขียว
เขียวน้ำเงิน น้ำเงิน ม่วงน้ำเงินและม่วง
สีเหลืองและสีม่วง สามารถเป็นได้ทั้งสีอุ่นและสีเย็น ขึ้นอยู่กับว่ามันอยู่ร่วมกับสีกลุ่มไหน ถ้าอยู่ในกลุ่มเดียวกับสีอุ่นก็จะกลายเป็นสีที่ดูอุ่น แต่ถ้าอยู่ในกลุ่มเดียวกับสีเย็นก็จะดูเย็นไปด้วย
สีเหลืองและสีม่วง สามารถเป็นได้ทั้งสีอุ่นและสีเย็น ขึ้นอยู่กับว่ามันอยู่ร่วมกับสีกลุ่มไหน ถ้าอยู่ในกลุ่มเดียวกับสีอุ่นก็จะกลายเป็นสีที่ดูอุ่น แต่ถ้าอยู่ในกลุ่มเดียวกับสีเย็นก็จะดูเย็นไปด้วย
หลักการแบ่งกลุ่มสีอุ่นและเย็น โดยอ้างอิงจากวงล้อสี ซึ่งให้กลุ่มแรก เป็นกลุ่มที่มีเฉดสีใกล้เคียงกันหรือกลมกลืนกัน จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
ส่วนกลุ่มที่สอง จัดเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง
ซึ่งสีจะตัดกับกลุ่มแรกเมื่ออยู่ห่างออกไป
และจะตัดกันอย่างสิ้นเชิงเมื่ออยู่ตรงกันข้ามในวงล้อเดียวกัน เช่น สีเขียวกับสีแดง, สีเหลืองกับสีม่วง,
สีส้มกับน้ำเงิน, สีเขียวเหลืองกับสีแดงม่วง,
สีเหลืองส้มกับสีน้ำเงินม่วง และสีแดงส้มกับสีเขียวน้ำเงิน
วิธีการจับคู่สีเสื้อผ้าแฟชั่น
ไม่ว่าจะเป็นเสื้อกับกางเกง หรือเสื้อกับกระโปรง มันขึ้นอยู่กับว่า
เราต้องการให้สีออกมา แล้วรู้สึกคล้อยตามกันหรือขัดแย้งกัน เช่น
ถ้าต้องการให้สีเสื้อผ้าที่จับคู่นั้นกลมกลืนกัน
เราอาจจะใช้สีที่ไล่ตามความหนักเบาของสีเดียวกันก็ได้ เช่น เสื้อสีเข้ม
คู่กับกระโปรงสีอ่อน ในสีเดียวกัน
หรือจะใช้สีที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
ที่มีเฉดสีกลมกลืนกัน ซึ่งยังคงให้ความรู้สึกที่คล้อยตามกัน เช่น เสื้อสีเขียว
คู่กับกางเกงสีเขียวอมน้ำเงิน
แต่ถ้าต้องการได้สีที่ตัดกัน
ต้องเลือกสีที่อยู่คนละกลุ่มกัน และถ้าต้องการให้ดูตัดกันอย่างสิ้นเชิง
ก็ต้องใช้สีที่อยู่ตรงข้ามวงล้อกัน เช่น สีม่วงกับสีเหลือง แต่ต้องระวังเรื่องการใช้สีตัดกัน
ถ้าตัดกันมากเกิน อาจทำให้รู้สึกขัดกันแย้งมากจนเกินไป